ข่าวแว่วมาว่า คดีเหมือง สิ้นสุดที่อนุญาโตตุลาการแล้ว เราแพ้ครับ แพ้แต่ในมุ้งแล้ว (รูปคดีเสียเปรียบซะขนาดนั้น)ในฐานะที่เชี่ยวชาญ
เรื่องความตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลพอสังเขป แก่ผู้อ่านดังนี้
ความตกลงระหว่างประเทศแบ่งเป็นสองอย่างคือ ระหว่าง รัฐกับรัฐ และ รัฐกับเอกชน
รัฐกับรัฐ แบ่งเป็น ตัวต่อตัว (ทวิภาคี) หรือสวิงกิ้ง เอ้ย แบบหมู่ เรียกว่า พหุภาคี จะลงท้ายด้วยภาคี ส่วนมากจะเป็นการแลกเปลี่ยนสิทธิการค้า การลงทุน ระหว่าง เป็นแม่บทหลัก หรือความตกลงหลัก
ส่วนระหว่างรัฐกับเอกชน ก็จะเป็นในรูปแบบการให้สัมปทาน เช่นขุดทอง ทำเหมือง ทำอะไรก็แล้วแต่ โดยเอกชนจะได้ระยะเวลาทำกำไร แต่รัฐบาลได้เงิน ค่ามาทำเป็นรายได้เข้าประเทศ
ถามว่า บริษัทออสเตรเลีย ได้สัมปทานจากรัฐ มันผูกพัน ระหว่าง รัฐบาลไทยกับออสเตรเลียมั้ย บอกได้เลยว่า เต็มตีน
แต่...การให้สัญญาใด ๆ ก็แล้วแต่ เขาไม่ได้ให้กันแบบหมู ๆ เขามีข้อบทกำหนดรายละเอียดไว้หมดว่า ต้องทำตามสัญญา ทำอะไรบ้าง แบบ วิน วิน ทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อ่วมนะ
ประเด็นที่อยากชี้ก็คือ ทุกความตกลง มันมีการบอกเลิกกันได้ครับ แต่มันมีวิธีการขั้นตอนที่เขียนไว้ในสัญญานั่นแหละ
เช่น บอกว่าผิดสัญญา ตามหลักฐานที่กูมี 1 2 3 4 ก็ว่าไป ฝ่ายผู้ถูกบอก จะต้องมาต่อสู้ในประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่า กูไม่ได้ทำ 1 2 3 4 ตามที่มึงบอก อันนี้แหละสำคัญที่สุด แต่บางที เราก็เสียค่าโง่ประจำนะ (ไม่รู้อะไรบังตาตอนเขียนสัญญา ถึงเสียเปรียบทุกครั้ง)
มันต้องมีการพิสูจน์ต่อสู้กันประมาณระยะเวลานึง แต่ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ถ้ามันยื้อ และมึงแน่ใจว่า มันผิดแน่ ๆ มึงมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวได้ (โดยปกติก็จะแจ้งไปให้ คู่สัญญาเก็บของประมาณ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย)
แต่ ลุงกูเก๋าครับ แบบว่าอยากโชว์พาวอะ มาตรา 44 สั่งปิดด้วยเมามันส์ในอารมณ์ จึงถูกใช้กับบริษัททำเหมือง ปิดแม่งเลยเต็มตีนสิ เต็มตีน ออสเตรเลียเลย
ผลก็คือ เขาเอาไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย อย่างที่เป็นข่าว
ลุงกูทำหน้าเหมือนฉลาด บอกว่า “ผมรับผิดชอบเอง” ซึ่งกูก็พยายามเพ่งกสิณอยู่ว่า ผมรับผิดชอบเอง มันคืออัลไลย ? (มึงนึกภาพตามกู แล้วมึงจะนึกออก)
ไม่แน่ตอนนี้ วิดนุ อาจกำลังหารูว่า
เป็นเจ้าหน้าที่รัฐดีมั้ย ?
หรือไม่เป็นดี ?
เป็นแล้วใครใช้นะ ?
หรือไม่เป็น ? หรือจะเป็นดีน้า...อยู่ก็เป็นได้?
คือ กฎหมายประเทศนี้แม่งเลี้ยวได้อย่างกะโค้งขึ้น แม่ฮ่องสอนแหละ อยู่ที่ว่าแม่งจะเลี้ยวไปไหน
มีคนถามว่า เบี้ยวมันได้ไหม (เรารักลุงซะอย่าง) มันทำอะไรเราได้พี่
คำตอบคือ ทำได้สิ แต่สิ่งที่ตามมาคือความฉิบหายระยะยาวแน่นอน
หากมึงเบี้ยว รัฐไทยก็จะมีสภาพอะไรไม่ต่างจาก รัฐโจร สัญญาโจร หาความแน่นอนไม่ได้
แล้ว นักลงทุน บริษัทข้ามชาติทั้งหลาย จะพากันกระซิบบอกว่า เผ่นเหอะ อย่ามาเลย ขืนมาลงทุนที่นี่ วันดีคืนดี มีผู้นำประเทศบ้า ๆ บอ ๆ ลุกขึ้นมาสั่งปิดบริษัทมึงได้นะ แถมข้อตกลงที่ทำกันไว้ แม่งก็ไม่ใช้ มันเบี้ยว
แล้ว เจ๊ก ฝรั่ง แขก ญี่ปุ่น ที่ไหน จะกล้าเอาเงินที่ไหนมาลงทุนครับ เมื่อสัญญาระหว่างรัฐ ไม่ศักดิ์สิทธิ์
อันที่สอง เขาก็จะเริ่มยึดทรัพย์ของรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทยผิดสัญญา เขาก็จะมองว่า ยึดอะไรมึงก่อนดี ความซวยอาจมาออกที่ การบินไทย
สมมติการบินไทยบินไปลงที่ออสเตรเลีย ขากลับอาจห้ามออก เพราะอาจมี จนท.กรมบังคับคดี ออสเตรเลีย มาล๊อคล้อ ยึดเครื่องบินเพื่อขายทอดตลาดก็เป็นได้ และมันจะลามไปทั่วโลก กับประเทศที่เขาเป็นมิตรกับออสเตรเลีย
ถามว่า การบินไทยเกี่ยวอะไร เกี่ยวสิไอ้ฝัด การบินไทย ใครถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ ก.คลังใช่ไหม
ผมนึกไม่ออกว่า ค่าชดเชยการละเมิดครั้งนี้ หวยจะออกมาอย่างไร
เบื้องต้นรัฐบาลไทย คงต้องชดใช้แน่ ๆ ไม่ว่า รัฐบาลไหนมาต่อ ค่าเสียหายนี้ยังคงอยู่
ปัญหาคือ จนท.รัฐ (เอ๊ะ แกเป็น จนท.หรือเปล่าวะ) ผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
กระทรวงการคลังจะฟ้องไล่เบี้ย ยึดเงิน ยึดบ้าน โทษฐานเป็นจนท.รัฐ แต่ออกคำสั่งประมาทเลินเล่อจนทำให้รัฐเสียหาย แบบจำนำข้าวมั้ย ?
ถ้านึกไม่อออก ก็ดูคดี ยึดทรัพย์ยิ่งลักษณ์แหละครับ
อันนี้แหละ ไคลแมกซ์
ผมจะรอดู "ไฟนอล เดสติเนชั่น"
ว่าหนังแม่งจะจบแบบไหน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น