'ซอลาฮุดดีน' 10 อย่าง นักรบและผู้ปกครองมุสลิมที่ได้รับการยกย่องจากศัตรูทั้งศาสนาเดียวกันและต่างศาสนา

 ซอลาฮุดดีน (ค.ศ.1138-1193) คือนักรบและผู้ปกครองมุสลิมที่ได้รับการยกย่องจากศัตรูทั้งศาสนาเดียวกันและต่างศาสนา เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบิยะห์ (Ayyubid Dynasty) พระองค์รวบรวมนครศักดิ์สิทธิ์แห่งของศาสนาอิสลามเข้ามาใต้ผืนธงเดียวกัน จนกลายเป็นอาณาจักรมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

.
ซอลาฮุดดีน

.
ซอลาฮุดดีนมีพระนามจริงเป็นภาษาอาหรับว่า ยูซุฟ อิบน์ ไอยยุบ (Yusuf ibn Ayyub) ส่วนชื่อซาลาดิน หรือซอลาฮุดดีนนั้นเป็นฉายาที่บิดาตั้งให้ แปลว่า 'สัจธรรมแห่งศรัทธา' (Righteousness of the Faith) แม้ชื่อจะเป็นภาษาอาหรับ แต่ครอบครัวของซอลาฮุดดีนเป็นชาวเคิร์ด-ซุนนีจากแถบลุ่มแม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย
.
2.ออกรบตั้งแต่ยังเด็ก
.
ในวัยเพียง 14 ปี ซอลาฮุดดีนก็ถูกอะซาดุดดีน ซีรกูฮ์ (Asad ad-Din Shirkuh) พระปิตุลาซึ่งเป็นขุนศึกผู้เก่งกาจ นำตัวมาฝึกเป็นนักรบชั้นยอด จากนั้นทั้งคู่ได้ออกรบเคียงบ้าเคียงไหล่ในทุกศึกทั่วสารทิศ เอาชนะศัตรูทั้งมุสลิมและคริสต์ จนสามารถยึดครองอียิปต์ได้ และกลายเป็นผู้ครองดินแดนอียิปต์ในเวลาต่อมา
.
3.รวบรวมดินแดนอิสลามอันกว้างใหญ่เป็นหนึ่งเดียว
.
ปี 1164 ซอลาฮุดดีนถูกส่งตัวจากซีเรียเข้าไปจัดการปัญหาความวุ่นวายในอียิปต์จนได้รับแต่งตั้งเป็น 'วาซีร์' หรืออัครเสนาบดีของกาหลิบราชวงศ์ฟาติมิยะห์ (Fatimid Caliphate) ต่อมาองค์กาหลิบสิ้นพระชนม์ ซอลาฮุดดีนก็รวบอำนาจในอียิปต์ ก่อนยกทัพเข้ายึดครองซีเรีย พร้อมประกาศตนเป็นสุลต่านปกครองทั้งซีเรียและอียิปต์ทันที ดินแดนของซอลาฮุดดีนกว้างไกลจรดเยเมน นอกจากนี้ยังยึดดินแดนปาเลสไตน์ส่วนใหญ่จากพวกครูเสดได้ ขณะที่ดินแดนแถบเมโสโปเตเมียตอนเหนือก็อยู่ใต้อำนาจของซอลาฮุดดีนเช่นกัน
.
4.เคยสู้รบกับกษัตริย์องค์สำคัญของยุโรป
.
ซอลาฮุดดีนเคยเผชิญหน้ากับกษัตริย์นักรบองค์สำคัญหลายคนของยุโรป ทั้งกษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ (Richard the Lionheart) กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ออกุสตุส (Philippe II Augustus) แห่งฝรั่งเศส กษัตริย์บอลด์วินที่ 4 (Baldwin IV) และกษัตริย์อมาลริค (Amalric) แห่งเยรูซาเล็ม ทั้งหมดนี้ล้วนให้การยกย่องนับถือซอลาฮุดดีน เพราะความมีสัจจะและใจกว้าง
.
5.สุภาพบุรุษนักรบที่ศัตรูยังคารวะ
.
ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3 แม้ซอลาฮุดดีนต้องรบทัพจับศึกกับผู้รุกรานจากยุโรปหลายกลุ่ม แต่พระองค์ก็ได้แสดงความเป็นสุภาพบุรุษให้ศัตรูได้เห็นอย่างกระจ่างแจ้ง
.
ตอนที่กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษทรงประชวร ซอลาฮุดดีนได้ส่งแพทย์ส่วนตัวไปช่วยดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น เมื่อม้าทรงของกษัตริย์ริชาร์ดตายในสนามรบ พระองค์ก็ส่งม้าศึกตัวใหม่เป็นของขวัญทดแทนม้าที่ตาย จนกษัตริย์อังกฤษประทับใจอย่างมาก ด้วยน้ำใจไมตรีอันยิ่งใหญ่นี้เองทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาสงบศึกกันได้โดยชาวมุสลิมรักษากรุงเยรูซาเล็มไว้ได้ และชาวคริสต์ยังสามารถไปแสวงบุญได้อย่างเสรี ความใจกว้างของซอลาฮุดดีนเป็นที่ร่ำลือทั้งชาวคริสต์และมุสลิม
.
6.ผู้ครองนครศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามของศาสนาอิสลาม
.
นครศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 แห่งของศาสนาอิสลามคือ มักกะฮ์ (Mecca) มะดีนะห์ (Medina) และเยรูซาเลม (Jerusalem) ก่อนหน้านี้นครทั้งสามกระจัดกระจายอยู่ภายใต้ผู้ปกครองต่างแคว้นต่างนิกาย ทั้งชีอะห์และซุนนี จนถึงเยรูซาเลมที่ปกครองโดยชาวคริสต์จากยุโรป แต่ซอลาฮุดดีนเริ่มรวบรวมดินแดนต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งมักกะฮ์และมะดีนะห์ตกเป็นของพระองค์ก่อน จากนั้นจึงยึดเยรูซาเล็มมาจากรัฐครูเสดได้ ซอลาฮุดดีนกลายเป็นผู้ปกครองมุสลิมคนแรกที่รวบรวมนครศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามเข้าด้วยกัน นับตั้งแต่กาหลิบราชวงศ์อับบาสิยะห์(Abbasid Caliphate) แห่งแบกแดดสูญเสียนครทั้งสามไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน


.
7.ยุติธรรมต่อข้าศึกที่ไร้ทางสู้
.
หลังยึดกรุงเยรูซาเลมจากชาวคริสต์ได้ เชลยศึกต่างวิตกกังวลว่าจะต้องถูกสังหารหมู่เป็นการแก้แค้น ทว่าซอลาฮุดดีนกลับสั่งห้ามไม่ให้ทหารทำการปล้นสะดมชาวบ้าน ทั้งยังไว้ชีวิตเชลยด้วยการเรียกค่าไถ่ต่อหัวในราคาที่ถูกมาก หลายครอบครัวที่ไม่มีเงินจ่ายก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากเมือง ขณะที่บางส่วนต้องอยู่เป็นทาสแลกกับการมีลมหายใจต่อไป
.
8.เคยตกเป็นเป้าของลัทธินักฆ่าหลายครั้ง
.
ลัทธิหัวรุนแรง 'ฮัสซัสซีน' (Hashashin) กลุ่มนักฆ่าเลื่องชื่อที่สังหารผู้คนมากมายในยุคนั้น เคยหมายหัวซอลาฮุดดีนและเกือบสังหารพระองค์ได้ กลุ่มฮัสซัสซีนโยนระเบิดเพลิงเข้าไปในกระโจมของพระองค์ แล้วกรูเข้าใช้มีดรุมแทง แต่พระองค์ก็รอดมาได้พร้อมบาดแผลเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นจึงนำทัพเข้าล้อมฐานที่มั่นของเหล่านักฆ่า หวังปิดฉากลัทธิหัวรุนแรงนี้ให้สิ้นซาก สุดท้ายเหล่านักฆ่าจอมโหดขอเจรจายุติความบาดหมางกับซอลาฮุดดีน
.
9.ผู้ปิดฉากอัศวินจอมโฉดแห่งยุค
.
สมัยนั้นมีขุนนางชาวแฟรงค์แห่งอาณาจักรเยรูซาเลมและเจ้าครองนครอันติโอคนามว่า เรนัลด์ เดอ ชาติญง (Reynald de Châtillon) ฉายาอัศวินจอมโฉด ได้ตั้งกองทหารม้าคอยปล้นสะดมเหล่าผู้แสวงบุญมุสลิมและกองคาราวานตามแนวชายแดนซีเรีย ไม่เว้นแม้แต่พ่อค้าชาวคริสต์ด้วยกัน นอกจากปล้นทางบกแล้ว ชาติญงยังส่งกองเรือไปปล้นเมืองท่าของกรีก หลายเมืองของอียิปต์ และผู้แสวงบุญใกล้เมืองเมกกะ แม้แต่น้องสาวของซอลาฮุดดีนก็เคยโดนจับตัวไปเรียกค่าไถ่ ซอลาฮุดดีนถึงกับประกาศว่าจะเด็ดหัวอัศวินจอมโฉดให้ได้ สุดท้ายเมื่อชาติญงพ่ายแพ้สงครามให้แก่ซอลาฮุดดินในศึกที่ฮัตติน (Battle of Hattin) ชาติญงถูกจับได้ ซอลาฮุดดีนจึงลงมือบั่นคอด้วยตัวเองตามที่ได้ลั่นวาจาไว้
.
.
แม้กิตติศัพท์ของซอลาฮุดดีนจะเป็นที่เลื่องลือในฐานะแม่ทัพผู้เกรียงไกร แต่ความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงสนใจเรื่องการศึกษาและศาสนามากกว่า เดิมทีพระองค์เคยคิดจะเอาดีด้วยการเป็นกอฎี (ผู้พิพากษา) หรืออุลามะอ์ (ผู้วินิจฉัยด้านศาสนา) ทว่าผลพวงจากสงครามกับรัฐครูเสดบีบคั้นให้ต้องหยิบอาวุธขึ้นสู้ ก่อนกลายมาเป็นนักรบไปในที่สุด ช่วงสงครามสงบ ซอลาฮุดดีนหันมาส่งเสริมด้านการศึกษาและศาสนาอย่างเต็มที่ แม้กระทั่งเรี่ยไรเงินบริจาคให้คนยากไร้ ทำให้พระองค์กลายเป็นที่รักของประชาชน
ที่มา GYPZY WORLD
นักรบและผู้ปกครองมุสลิมที่ได้รับการยกย่องจากศัตรู


Share on Google Plus

About บริการทำเว็บไซส์ blogspot สายblogger influencer สายท่องเที่ยว อาหารของกิน บิวตี้ความงาม สร้างด้วยblogspot suraphan x2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น