เรื่องหมูแพง บริษัทคู่สัญญากับฟาร์มคือใคร ใครบ้างกักตุน

 เมื่อมีข่าวผู้เลี้ยงหมูออกมาโวยว่า หมูมันไปแพงตรงไหน ที่ฟาร์มขายกิโลละ 60 บาท มีหมูเป็นพันตัวยังไม่มีใครมาจับ



ตอนเย็นแม่ค้าเขียงหมูในย่านเดียวกันกับฟาร์มหมูก็มาบอกว่า หมูเป็นโลละ 60 บาทมันไม่มีหรอก ถ้ามีจะเหมาหมดเลย จะเอารถไปจับเองเลย

คำถามของคนกินคนซื้อหมูก็คือ แบบนี้ใครพูดจริง ใครโกหก
คำตอบคือพูดจริงทั้งสองฝ่าย แต่พูดไม่หมด

ฝ่ายฟาร์มผู้เลี้ยงก็พูดจริง ขาย 60 บาทจริง แต่ไม่ใช่ราคาที่ขายให้แม่ค้าเขียงหมู แต่เป็นราคาขายให้บริษัทใหญ่ เพราะเป็นฟาร์มที่ทำเกษตรพันธสัญญา หรือ contact farming ต้องขายให้บริษัทคู่สัญญาในราคานี้
แต่พอเห็นหมูในตลาดราคาแพง แล้วตัวเองได้ราคาเท่านี้ก็คงอึดอัด และเกิดความอยากได้อยากมีเป็นธรรมดาของคน แต่ก็ขายไม่ได้เพราะติดสัญญา แถมพอถึงกำหนดจับหมูตามสัญญา บริษัทไม่มาจับก็ต้องเลี้ยงหมูรอและขาดทุนค่าอาหารหมูเพิ่มขึ้นทุกวัน
ก็เลยโวยวายขึ้นมา
ส่วนฝ่ายแม่ค้าเขียงหมูก็พูดจริง เพราะถ้ามีหมูราคา 60 บาทเป็นใครก็เหมาหมด ในภาวะราคาหมูแบบนี้ แต่แม่ค้าที่ขายให้คนกินปลายทางไปหาซื้อราคานี้ไม่ได้แน่ๆ
คำถามตัวโตๆก็คือ ใครที่อยู่ตรงกลางที่ซื้อหมูเป็นได้กิโลละ 60 บาท และมาขายให้แม่ค้าไปขายหน้าเขียงอยู่กิโลละ 200 กว่าบาทอยู่ตอนนี้
ไอ้ตัวนี้แหละที่ทำให้หมูแพงอยู่ตอนนี้
และเมื่อคืนพี่โทนี่แกให้ข้อมูลว่า มีห้องเย็นแช่หมูไว้ตั้ง 4-5 แสนกิโล
ทำสัญญาซื้อหมูไว้กิโลละ 60 บาท ถึงเวลาไปจับตามสัญญาไม่ไปจับ คนเลี้ยงขาดทุนเลี้ยงรอ แต่เจ้าใหญ่ได้ขายอาหารเพิ่มขึ้น ได้กำไรเพิ่ม
พอจับหมูเกินอายุ คุณภาพเนื้อหมูก็ต่ำลง เนื้อหมูมีมันมากกว่าเนื้อแดง เอามาขายให้เขียง เขียงก็ไม่มีทางเลือก
แต่คนตรงกลางรวยพุงปลิ้น
ปัญหามันเป็นแบบนี้ ราคาหมูแพงไม่ได้อยู่ที่หมูตายอย่างเดียว และแทนที่ประยุทธ์จะมาจัดการตรงนี้ ดันมาบอกว่า หมูตายแค่ 20 %ไม่รู้ใครมาทำให้หมูแพง
แล้วก็เอาเงินภาษี 1,400 ล้านไปช่วยซื้อไก่ ซึ่งรายใหญ่ที่ขายไก่ก็เจ้าเดียวกับหมู เอาไก่มาขายแก้หมูแพง

เรื่องหมูแบบสมมติตอนนี้มีตัวแปรคือ หมูของเจ้าสัว ลูกไร่เกษตรพันธสัญญากับเจ้าสัว
ชาวบ้านผู้เลี้ยงหมูและ กระแสสังคม โดยราชการคอยทีอยู่

โรคระบาดหมูคือตัวจุดชนวน

จริง ๆ หน้าที่ของรัฐคือให้ใบรับรองเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทุกรายที่ได้มาตรฐาน (good farming management : GFM) ไม่จำกัดที่บริษัทใหญ่ เพื่อให้มั่นใจว่ารัฐเห็นหมูทุกเล้า บริหารจัดการได้และรู้ประวัติการจัดการ แน่นอนว่าต้องมีคลิปจากกล้องวงจรปิดเก็บไว้จากทุกแห่ง
พอมีโรคระบาดก็จะสามารถจำกัดวงได้โดยไม่ใช้การเหมาทำลายเหมือนไข้หวัดนกที่การตีขอบเขตการทำลายไก่โดยใช้คำสั่งภาครัฐ ผลที่เกิดขึ้นคือรายย่อยล้มทั้งหมดและเหลือผู้ครองตลาดจำนวนน้อยเท่านั้น
ตอนนี้หมูราคาแพง คนขายรายย่อยที่ไม่ใช่เกษตรพันธสัญญาถ้าสามารถหาผู้รับซื้อได้ก็โชคดีไป ถ้าไม่มีช่องทางการตลาดก็ลำบาก
เกษตรพันธสัญญาอยากขายราคาสูงโดยอยากออกนอกสัญญาซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาวและทำให้ผู้ซื้อหมดความเชื่อถือและอาจถูกฟ้องได้อีก
ทางออกของภาครัฐคือระวังไม่ให้โรคระบาดเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ทำลายระบบการแข่งขันด้วยการสั่งฆ่าแบบเหมารวมส่งผลให้ควบคุมราคาได้ในอนาคต
เรื่องนี้เป็นสิ่งเลวร้ายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการคือสร้างกระแสสังคมให้คนเกิดความหวาดกลัว และใช้ระบบราชการเป็นเครื่องมือแบบเนียน ๆ โดยที่ระบบราชการเองก็เชื่อว่าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
หวังว่าจะพอระมัด ระวังได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือใครนะครับ

Share on Google Plus

About บริการทำเว็บไซส์ blogspot สายblogger influencer สายท่องเที่ยว อาหารของกิน บิวตี้ความงาม สร้างด้วยblogspot suraphan x2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น