การพัฒนาวัคซีน COVID-19 อัพเดตล่าสุด วัคซีนโรคโควิด-19ต้นแบบแล้วทั้งหมด 115 ตัวรรับรองโดย WHO แล้วมี 62 ตัว



สรุปอัพเดตล่าสุด เรื่อง วัคซีนโรคโควิด-19

ตอนนี้มีวัคซีนต้นแบบแล้วทั้งหมด 115 ตัว แต่ที่เป็นทางการรับรองโดย WHO แล้วมี 62 ตัว และมี 2 ตัวที่เริ่มทดลองในมนุษย์แล้ว โดยเดือนนี้จะมีอีก 2 ตัวที่เริ่มทดลองในคน

ถ้าถึงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม การทดลองในมนุษย์ขั้นที่ 1 ประสบความสำเร็จดี ก็จะเริ่มทดลองขั้นที่ 2 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครต่อไป และวัคซีนน่าจะเสร็จให้วางจำหน่ายในท้องตลาดได้ (ถ้าไม่มีอุปสรรคเลย) ในปี 2564



1. WHO ฉบับล่าสุดประกาศรายชื่อ official vaccine candidate (4/4/2563) ทั้งสิ้น 62 Candidates (เพิ่มขึ้นจาก 44 candidates ณ วันที่ 29/3/63)

ในจำนวน 62 candidates นี้มี 2 ตัวที่อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์เฟส 1 (Clinical trial phase 1, CT1) คือ บ. Moderna, USA และ Cansino biological, China เช่นเดิม

ส่วนที่เหลืออีก 60 candidates อยู่ระหว่างทดสอบในสัตว์ หรือทดสอบในสัตว์เสร็จแล้ว (Preclinical)

https://www.who.int/…/Novel-Coronavirus_Landscape_nCoV-4apr…

และถ้านับรวม candidates ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการจะมีกว่า 115 candidates!!

https://www.nature.com/articles/d41573-020-00073-5

2. ในเดือนเมย.63 นี้ มีอีก 2 บริษัทประกาศนำวัคซีนเข้าทดสอบในมนุษย์เพิ่มเติมคือ บ.Inovio,และ Oxford university, 

2.1 Inovio สัญชาติอเมริกันเพิ่งได้รับอนุมัติจาก US-FDA มาหมาดๆ ให้ทดสอบวัคซีน Covid-19 ในชื่อ INO-4800 ในมนุษย์ได้ (6/4/63)

โดยวัคซีนชนิดนี้เป็น DNA vaccine ที่ออกแบบระบบนำส่ง โดยใช้ปืนยิงที่หน้าตาละม้ายคล้ายปืนอินฟราเรดวัดไข้ ชื่อ Cellectra 3PSP ที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆเพื่อเปิดรูของผิว พร้อมดัน DNA plasmid vaccine ให้เข้าสู่เซลล์ของเราได้ (electroporation)

วิธีการนี้จึงเป็นหนึ่งในวิธีขจัดจุดอ่อนของการนำส่ง DNA vaccine ที่มีวงขนาดใหญ่ผ่านชั้นเคราตินหนาๆของผิวหนังอย่างเราๆได้

สำหรับ CT1 ของ INO-4800 นั้นจะใช้อาสาสมัครสุขภาพดี 40 คน แต่ละคนจะได้รับการยิงวัคซีน 2 โดส (0,1 mo) และติดตามดูความปลอดภัยและภูมิคุ้มกันเบื้องต้นไปจนถึงส.ค. 63 นี้ INOVIO ยังประกาศพร้อมจะเข้าสู่ CT2 ในทันทีหาก CT1 ให้ผลที่น่าพอใจ

ความพร้อมของ INOVIO ยังรวมถึงความร่วมมือกับบริษัท partner ที่ชื่อ Ology Bioservices ซึ่งจะผลิตวัคซีนไว้กว่า 1 ล้านโดสปลายปี 63 เพื่อรองรับ CT3

และมีความเป็นไปได้ว่า องค์การอาหารและยาของ  จะพิจารณาอนุมัติทะเบียนวัคซีนแบบฉุกเฉิน (emergency use) ภายในปี 2564 ซึ่งจะทำให้วัคซีนออกสู่ตลาดเร็วขึ้นกว่าปกติ

https://techcrunch.com/…/a-second-potential-covid-19-vacci…/

http://ir.inovio.com/…/INOVIO-Initiates-Phase-…/default.aspx

2.2 Oxford University สัญชาติอังกฤษ เตรียมส่ง candidate ในชื่อ ChAdOx1 (โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Cansino, China ที่เข้าทดสอบ CT 1 ในเดือนมีค. ที่ผ่านมา)

โดยทีมวิจัยใช้ platform ของ Adenoviral vector ชนิดไม่แบ่งตัวหลังฉีด (non-replicated) จากลิงชิมแปนซี แล้วจึงเพิ่มจำนวน viral vector ในเซลล์ตัวอ่อนของ mammalian/avian ต่อไป

(ซึ่งหลักการเดียวกันนี้จะพบได้ใน vaccine candidate ค่ายอื่นๆ อาทิเช่น J&J (Janssen)ที่จะใช้ Adenovirus กับเซลล์เรตินาของมนุษย์ (PER.C6) เป็นต้น)

ความน่าสนใจของการทดสอบวัคซีนทีมนี้คือ การ recruit อาสาสมัครถึง 510 คน เพื่อรวบทำ CT1/2 โดยแยกออกเป็น 14 studies การศึกษาหลักๆยังคงเน้น 3 ด้านคือ ความปลอดภัย ภูมิต้านทาน และประสิทธิผลของวัคซีน


เบื้องต้นการศึกษาด้านความปลอดภัยจะเสร็จสิ้นภายใน ตค 63 และทยอยประกาศผลการศึกษาด้านอื่นๆภายใน พค 64

https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04324606…

3. และเป็นที่น่าสังเกตก็คือ candidate วัคซีน Covid-19 ที่เข้าทดสอบในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่เดือนนั้น ต่างมาจากบริษัทไบโอเทคหรือแล็บชั้นนำที่มี success story ในการพัฒนา biological platform มาก่อนทั้งสิ้น

อย่าง Moderna เองก็เป็นผู้นำของ mRNA platform สำหรับ personalized cancer vaccine ใน CT2 ที่กำลังมาแรงมาก เพราะเป็นความหวังของการรักษามะเร็งด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด และวัคซีนที่กำลังต่อคิวเข้า CT1-2 อีกหลายรายการ

https://www.modernatx.com/pipeline

ส่วน INOVIO เองก็มีประวัติอย่างโชกโชนทั้งในการทดสอบ CT2 ในวัคซีน MER-coV ที่เป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกับ Covid-19 รวมถึง CT3 ใน Cervical cancer by HPV และวัคซีน อื่นๆอีกหลายรายการเช่นกัน

https://www.inovio.com/product-pipeline

4. ด้วยเหตุนี้ส่วนตัวจึงคิดว่า vaccine candidate จาก Moderna และ INOVIO น่าจะผ่าน CT1 ได้อย่างไม่ยากเย็นอะไรนัก โดยเฉพาะ DNA vaccine platform ที่เป็นวัคซีนใช้ในสัตว์มาก่อน แต่ความยากของจริงจะไปอยู่ที่ผลของ CT2-3 ว่าวัคซีนเหล่านี้สร้างภูมิคุ้มกันได้สูงพอ จำเพาะพอ และอยู่ในร่างกายเราได้นานเพียงใด

เพราะอย่าลืมว่า ประวัติศาสตร์การพัฒนาวัคซีนแต่ละตัวใช้เวลานานนับสิบปีจนถึงครึ่งทศวรรษ หรือบางตัวก็ยังไม่สำเร็จเลยอย่างวัคซีน HIV หรือตับอักเสบซี เป็นต้น

หรือบางวัคซีนที่มีแรงผลักดันจากการระบาดในอดีต อย่างเช่น SARS, MERS หรือ ZiKA เองที่งานวิจัยไปหยุดอยู่ที่ CT1-2 เอาดื้อๆ กลายเป็นงานวิจัยขึ้นหิ้ง เพราะไม่ระบาดต่อ

จนมาถึง COVID-19 ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นเชื้อประจำถิ่นในอนาคต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง วัคซีนจึงเป็นความหวังปลายอุโมงค์เพียงหนึ่งเดียวที่จะป้องกันโรค และเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลแต่ละประเทศมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัคซีนอย่างจริงจัง หรืออย่างน้อยต้องสร้าง technology platform ของวัคซีนให้เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้

เพราะท้ายสุดแล้ว ผมก็เชื่อว่า COVID-19 เองก็คงไม่ใช่ไวรัสตัวสุดท้ายที่จะระบาดอย่างแน่นอน 

Reference ภาพ: INOVIO

12/4/2563

การพัฒนาวัคซีน COVID-19 EPI 1 ?

https://www.facebook.com/1129473811/posts/10221508329594173/?d=n

cr : ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์
รกน.ผอก.ผลิตวัคซีนจากไวรัส
องค์การเภสัชกรรม



Share on Google Plus

About บริการทำเว็บไซส์ blogspot สายblogger influencer สายท่องเที่ยว อาหารของกิน บิวตี้ความงาม สร้างด้วยblogspot suraphan x2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น