กองทัพบก เตรียมจัดเพิ่ม ยานเกราะล้อยาง IAV Stryker จำนวน 50 คันจากสหรัฐฯ





กองทัพบก เตรียมจัดเพิ่ม ยานเกราะล้อยาง IAV Stryker จำนวน 50 คันจากสหรัฐฯ

ตามประกาศกองทัพบก โดยกรมสรรพาวุธทหารบก เรื่อง เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

โครงการจัดหายานเกราะล้อยาง IAV Stryker พร้อมระบบอาวุธ และการบริการทางเทคนิค ฯลฯ จำนวน 50 คัน โดยวีธี Foreign Military Sales (FMS) จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

งบประมาณ 4,515,000,000 บาท (~$140,000,000)
คาดว่าจะประกาศจัดซื้อจัดจ้างในเดือน 04/2563

cr:Defnet Military

ที่มา : https://www.procureordrta.com/plan_detail.php?notiID=1123

***หมายเหตุ*** ภาพประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยานเกราะล้อยางที่กองทัพบกจัดหาจากสหรัฐฯ ไปก่อนหน้านี้ แต่ตามประกาศปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลว่าจะเป็นยานเกราะล้อยางรุ่นใด


อธิบายเรื่องแผนการจัดหานิดนึงครับ เอกสารที่เห็น ๆ กันคือการทำแผนการจัดหาตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งทำแผนการจัดหาของปี 63 ในงบประมาณ 63 ดังนั้นถ้าแผนการจัดหาออกมาแบบนี้ก็แปลว่าจะใช้งบ 63 เพื่อซื้อ Stryker ครับ และตามแผนการจัดหาที่ประกาศออกมาคือจะดำเนินการในเดือนเมษายนนี้

ถ้ากองทัพบกบอกว่าจะเลื่อนจริง อีกไม่กี่วันเราจะต้องเห็นว่ารหัสงบประมาณ P63040021004 ในแผนการจัดหานั้นถูกยกเลิก คือไม่ดำเนินการจัดหา ดังนั้นถ้าจะให้มั่นใจว่าเลื่อนจริง ต้งอรอดูเอกสารครับ เพราะไม่เช่นนั้นก็คือยังซื้ออยู่ (ข่าวที่ออกมาแล้วบอกว่าเลื่อนนั้นยังมีข้อสงสัยอยู่)

แต่ถ้าไม่เลื่อนแล้วดำเนินการจัดซื้อแบบลับ ๆ นั้น สำหรับการจัดซื้ออาวุธของสหรัฐในโครงการใหญ่ ๆ นั้น รัฐบาลสหรัฐจะต้องแจ้งต่อสภาคองเกรสว่าจะมีการขายอาวุธนี้ให้ต่างประเทศ เผื่อที่ว่าคองเกรสอาจจะอยากห้ามขายอาวุธ ดังนั้นถ้ายังมีการดำเนินการจัดซื้อต่อ ถึงกองทัพไม่บอกเรา สหรัฐก็จะต้องบอกเราอยู่ดี


อันนี้คือหน้าตาของยานเกราะ Stryker ซึ่งประจำการในกองพลทหารราบที่ 11 ยานเกราะ นี้เป็นยานเกราะมือสอง ซึ่งซื้อยานเกราะสำรองในคลังของกองทัพสหรัฐมาใช้งาน จัดหาครั้งแรกปีที่แล้วจากสหรัฐอเมริกา 60 คัน เป็นจัดหาเองส่วนหนึ่ง และสหรัฐอเมริกาแถมให้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในล็อตแรกถูกว่าจารณ์หนักว่า ในมูลค่าโครงการราว 5 พันล้าน มีการใช้งบกลางในการซื้่ออาวุธกว่าพันล้าน ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสม เพราะงบกลางของรัฐควรใช้ในภารกิจที่จำเป็นหรือฉุกเฉิน แต่ประเทศไทยไม่ได้เกิดสงครามในตอนนี้ การใช้งบกลางซื้ออาวุธคือสิ่งที่ไม่เหมาะสมมาก ๆ

โครงการนี้ไม่ใช่งบประมาณผูกผันหรือลงนามในสัญญาไปแล้วที่จะเข้าข่ายการยกเว้นไม่ต้องคืนงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2563 เนื่องจากเป็นโครงการในระยะที่สอง คือเป็นการซื้อยานเกระาเพิ่มเติมจากโครงการในระยะแรก ถือเป็นโครงการเริ่มใหม่ ในลักษณะเดียวกับเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3

ล็อตสองที่จัดซื้ออีก 50 คัน มูลค่า 4.5 พันล้านบาทนั้น น่าจะเป็นไปได้ว่ารอดจากการตัดงบจาก โควิด19 เพราะคาดว่า กองทัพบก ยกเลิกการซื้อ รถถัง VT-4 ปืนใหญ่ 155 ม.ม. และ 105 ม.ม. แต่ Stryker ไม่ยกเลิก

อาจเพราะเป็นคำยานเกราะนี้ถูกจัดซื้อโดย "คำสั่งที่ปฏิเสธไม่ได้"

ทั้งนี้ ยานเกราะ Stryker นี้จะว่าของไม่ดีก็ไม่ใช่ เพราะเป็นยานเกราะหลักของสหรัฐที่ใช้ในอิรักและอัฟกานิสถาน มีผลงานและพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรบจริงมาแล้ว แต่คำถามคือทำไมต้องรีบจัดซื้อในปีนี้ มันเร่งด่วนขนาดนั้นหรือ? ในภาวะที่รัฐต้องกู้เงิน 1.9 ล้านล้าน เพื่อมากู้วิกฤตเศรษฐกิจ แต่กองทัพหรือใครก็ตามยังยืนยันจะซื้อยานเกราะมือสองตัวนี้ และซื้อด้วยเงินสด

ซึ่งเรากำลังหมายความว่า ไทยต้องเปลี่ยนแนวทางการซื้ออาวุธได้แล้ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศร่ำรวย การซื้ออาวุธนั้นด้วยเงินสด ๆ แลกอาวุธอย่างเดียวนั้นถือว่าไม่คุ้มค่าแล้ว แต่การซื้ออาวุธที่ได้ประโยชน์ทั้งความมั่นคงด้วยและเศรษฐกิจด้วย คือซื้ออาวุธโดยให้มีการชดเชยจากผู้ผลิต เช่น ประเทศผู้ผลิตเข้ามาลงทุน/จ้างบริษัทไทยผลิตหรือซื้ออะไหล่หรืออุปกรณ์ของอาวุธนั้น ๆ ไปใช้ (Direct Offset) หรือเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าอื่น ๆ หรือซื้อสินค้าอื่น ๆ ไม่เกี่ยวกับอาวุธที่ซื้อนั้นไปใช้ (Indirect Offset) ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานคนไทย เพิ่มการลงทุนจากภายนอกให้กับประเทศไทย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไทยบ้าง หรือแม้แต่ให้ประเทศผู้ผลิตซื้อสินค้าไทยกลับไป (Counter Trade) หรือแม้แต่การเอาสินค้าของไทยไปแลกอาวุธ (Barter Trade) ซึ่งถือเป็นวิธีการหลัก ๆ ที่ประเทศส่วนมากจะใช้เพื่อลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการซื้ออาวุธอย่างเดียว และทำให้การซื้ออาวุธนั้นช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศด้วย

หลายประเทศทำแบบนี้ ยกเว้นประเทศไทย ที่ยืนยันจะใช้เงินสดซื้ออาวุธโดยประเทศไทยไม่ได้อะไรเลยต่อไปครับ อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยเรารวยก็ได้ครับ

cr:ThaiArmedForce.com



Share on Google Plus

About บริการทำเว็บไซส์ blogspot สายblogger influencer สายท่องเที่ยว อาหารของกิน บิวตี้ความงาม สร้างด้วยblogspot suraphan x2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น