การติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำที่ถูกต้อง ต้องมีสูตรสำเร็จหรือไม่

 น้ำประปา เป็นสาธารณูปโภคหลักที่ทุกบ้านต้องใช้ การมีน้ำประปาที่สะอาดไหลแรง จะช่วยให้การซักล้างต่าง ๆ สะดวกมากขึ้น สำหรับบ้านใหม่ หรือ บ้านที่อยู่มานานแล้ว อาจจะมีปัญหาน้ำไม่ไหล น้ำไหลเอื่อย จนทำให้การใช้น้ำประปากับกิจกรรมต่าง ๆ นั้นลำบากมาก สิ่งที่ช่วยคุณได้ก็คือการติดตั้งวาล์วน้ำ ทำให้มีน้ำใช้ได้ทุกชั้นของบ้าน

การติดตั้งปั๊มน้ำ มี 2 แบบ ก็คือ 1) แบบไม่มีถังเก็บน้ำ และ 2) แบบที่ต้องใช้ถังเก็บน้ำ

แบบที่ 1 ไม่ติดตั้งถังน้ำ
สำหรับการใช้งานที่ต้องการให้น้ำไหลแรงขึ้น โดยเป็นการใช้งานที่ต้องการแรงดันน้ำให้ไหลไปยังชั้น 2 หรือเพื่อให้น้ำไหลแรงขึ้น แต่มีถังหรือที่เก็บน้ำรองรับไว้เรียบร้อยแล้วเท่านั้นเองครับ เพราะบางบ้านอยากได้แค่ปั๊ม เพื่อให้น้ำแรงขึ้นเท่านั้นเอง แต่ปลายทางของปั๊มก็ต้องเป็นท่อที่ต่อเข้ากับถังอื่น ๆ หรือพื้นที่เก็บน้ำที่สร้างไว้ในบ้าน หากต่อเข้ากับระบบท่อประปาหลักในบ้านโดยตรง อาจจะทำให้แรงดันมากเกินไป (หากลืมเปิดปั๊มทิ้งไว้ เพราะน้ำจะไหลกระจายแรงออกสู่ทุกทาง เสี่ยงต่อข้อต่อหลุดได้)
ดังนั้นการต่อสายที่ออกมาจากปั๊ม ก็จะสร้างเส้นทางเดินน้ำพิเศษกว่าการเดินท่อประปาหลักในบ้าน
แบบที่ 2 ติดตั้งถังน้ำ
ถังน้ำ เป็นตัวช่วยสำหรับให้มีน้ำอุปโภคบริโภคแบบพอดี โดยปั๊มน้ำจะมีหน้าที่ 2 อย่าง ก็คือ 1) ปั๊มน้ำเข้าถังน้ำ และ 2) ปั๊มน้ำออกจากถังน้ำ ซึ่งเหมาะกับบ้าน 2 ชั้นขึ้นไป และหอพักต่าง ๆ ที่มีการใช้น้ำปริมาณมากต่อวัน ให้เพียงพอต่อการซักผ้า, อาบน้ำ ถังน้ำมีให้เลือกซื้อหลายขนาด

การต่อปั๊มน้ำกับทั้งน้ำแบบทั่วไป สามารถเดินสายระบบให้ทิศทางของน้ำที่ออกจากเครื่องปั๊ม เข้าไปยังถังโดยตรง หรือ ติดตั้งอุปกรณ์เช็ควาล์ว เพื่อเปิดปิดควบคุมให้น้ำไหลในทิศทางย้อนกลับได้ ซึ่งช่วยให้น้ำประปาไหลแรงขึ้นได้ ดังนี้

1) ติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 2 ระบบ หรือ 3 ระบบ
หากน้ำประปาสายหลักที่ไหลเข้าบ้านไม่ค่อยแรง ต้องเปิดวาล์วน้ำทุกตัว และเปิดปั๊มน้ำ และหากน้ำประปาสายหลักไม่ค่อยแรง ให้ปิดปั๊มน้ำ และเปิดวาล์วเฉพาะตัวที่ 2 และ 3 ดังนี้
(การต่อปั๊มน้ำ เพื่อให้น้ำออกจากถัง)

2) ติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 4 ระบบ
หากน้ำประปาสายหลักไหลอ่อน เมื่อต้องการให้น้ำเข้าถังน้ำ ให้เปิดวาล์วตัวที่ 3 – 5 และเปิดปั๊มน้ำ และเมื่อน้ำเต็มถังแล้วสามารถเปิดเฉพาะวาล์วตัวที่ 2 และ 3 เพื่อใช้น้ำในวันอื่น ๆ ได้
(การต่อปั๊มน้ำ เพื่อให้น้ำออกเข้าถัง)
ต้องติดปั๊มน้ำกี่ตัว?
นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งระบบปั๊มน้ำแบบอื่น ๆ ที่สามารถประยุกต์ได้ตามความเหมาะสม และจำนวนชั้นของบ้าน ซึ่งต้องดูที่แรงดันที่ระบุไว้ในตัวเครื่อง จึงจะสามารถคำนวนได้ว่าใช้กี่จุด เพราะแต่ละแบรนด์ก็ให้กำลังไฟฟ้าไม่เท่ากัน โดยพี่จระเข้มีคำแนะนำให้เลือกเครื่องปั๊มน้ำ ดังนี้
1) เลือกจากความคุ้มค่า ทนทาน ตามที่คุณคิดว่าเหมาะสม โดยดูจากรับประกันหลังการขาย และรับประกันมอเตอร์
2) เลือกจากกำลังไฟ ที่มีตั้งแต่ 200 วัตต์ขึ้นไป ยิ่งกำลังไฟมาก ยิ่งปั๊มน้ำได้ดี
3) มีระบบตัดไฟป้องกันการลัดวงจรในตัวเครื่องอัตโนมัติ
4) อื่น ๆ เช่น ดูแลรักษาง่าย หรือหากติดตั้งไว้นอกบ้านจะมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดและฝน เป็นต้น
เดี๋ยวนี้มีเครื่องปั๊มน้ำหลายรุ่นให้เลือก และออกแบบให้สร้างแรงดันน้ำได้สม่ำเสมออัตโนมัติ บวกกับมีตัวตัดไฟป้องกันมอเตอร์ไหม้ เพื่อป้องกันอัคคีภัย และสุดท้ายนี้หากคุณวางแผนติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำอย่าลืมเลือกท่อประปาที่มีขนาดพอเหมาะกับแรงดันน้ำ เพราะมีส่วนโดยตรงที่จะทำให้กระแสน้ำไหลแรงหรือเบา รวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ก็ต้องเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำประปาให้สะอาด ได้ใช้อย่างปลอดภัยนะครับ


การติดตั้งปั๊มน้ำมีทั้งหมด4แบบ

ระบบการติดตั้งปั๊มน้ำภายในบ้าน ทั่วไปที่นิยมใช้กัน

แบบที่ 1 เป็นการติดตั้งแบบ 2 ระบบ ซึ่งเป็นระบบมาตรฐาน
(แบบนี้จะเหมาะกับบ้านที่มีถังน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอ)

- ระบบที่ 1 น้ำจากท่อเมนประปาไหลเข้าถัง และเมื่อน้ำเต็มถังลูกลอยจะปิดน้ำเข้าถัง ปั๊มน้ำสูบน้ำจากถัง จ่ายเข้าท่อน้ำภายในบ้าน


- ระบบที่ 2 ทำงานสัมพันธ์กับระบบที่ 1 คือ เมื่อไฟฟ้าดับ น้ำจากท่อเมนประปาจะไหลเข้าบ้าน ตามแรงดันน้ำประปา และเมื่อไฟฟ้าทำงานตามปกติ ปั๊มจะสูบน้ำจากถังเข้าบ้านอัตโนมัติ (ไม่ต้องหมุนวาล์ว)


แบบ ที่ 2 เป็นการติดตั้งแบบ 4 ระบบพิเศษ
(แบบนี้เหมาะกับบ้านที่มีความต้องการใช้น้ำมาก หรือมีน้ำเก็บสำรองน้อย) ซึ่งมีส่วนเพิ่มอีก 2 ระบบ คือ

- ระบบที่ 3 กรณีน้ำหมดถัง (เนื่องจากใช้น้ำมาก หรือน้ำประปาไม่ไหลเข้าถัง) สามารถใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำจากท่อเมนประปาโดยตรง เข้าบ้าน โดยหมุนวาล์วเพียง 2 ตัว ทำให้มีน้ำใช้ภายในบ้านโดยสูบน้ำตรงจากท่อเมนประปาที่น้ำไหลอ่อน

- ระบบที่ 4 ทำงานต่อเนื่องจากระบบที่ 3 ใช้ปั๊มน้ำสูบจากท่อเมนประปาเก็บไว้ในถัง เมื่อน้ำเต็มถังลูกลอยจะปิดน้ำเข้าถัง โดยหมุนวาล์วเพิ่มจากระบบที่ 3 เพียงตัวเดียว ทำให้สามารถสูบน้ำจากท่อเมนประปาที่น้ำไหลอ่อน เก็บเข้าถังไว้สำรองไว้ใช้ได้

ใน กรณีที่ต้องการไม่ให้ปั๊มน้ำสูบน้ำจากถังเมื่อน้ำหมดถัง ต้องติดตั้งสวิทซ์ลูกลอยตัดระบบไฟฟ้าที่ควบคุมปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันปั๊มน้ำชำรุดเนื่องจากการทำงานโดยไม่มีน้ำ

การติดตั้งถังน้ำสเตนเลส
- ควรติดตั้งใกล้ท่อน้ำประปาภายนอกให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำไหลเข้าถังได้สะดวก
- ควรใช้ท่อน้ำเข้าถังขนาดใหญ่ อย่างน้อยขนาด 3/4 หรือ 1 นิ้ว ท่อขนาดเล็กทำให้น้ำไหลเข้าถังช้า
- การเคลื่อนย้าย , ติดตั้ง ต้องระวังไม่ให้ของมีคมกระแทกถัง ซึ่งอาจทำให้ถังชำรุดได้
- ควรติดตั้งให้มีพื้นที่สำหรับเข้าทำงานซ่อมแซมได้สะดวก
- กรณีติตดั้งในที่โล่งมีลมแรง ควรยึดถังกับขาให้แน่นหนา และยึดขาถังกับพื้น และควรมีน้ำเต็มในถังตลอดเวลา เพื่อป้องกันถังล้มเนื่องจากลมแรง
- ถังน้ำสเตนเลสขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 2,000 ลิตร ขึ้นไป) หรือในพื้นทีที่ดินอ่อนมาก ควรเทพื้นซีเมนต์เสริมโครงเหล็กโดยใช้เหล็กเส้นขนาด 6 มม. หรือ 2 หุน ผูกเป็นตารางขนาดประมาณ 20 X 20 cm. โดยเทพื้นหนาประมาณ 8 – 10 cm รองรับด้วย ขนาดกว้าง-ยาวให้ใหญ่พอที่จะตั้งถังได้สะดวก หรืออาจจะเผื่อพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำด้วยก็จะดีมาก

Share on Google Plus

About บริการทำเว็บไซส์ blogspot สายblogger influencer สายท่องเที่ยว อาหารของกิน บิวตี้ความงาม สร้างด้วยblogspot suraphan x2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น